ความเป็นมา
บริษัท ไดโด สิทธิผล จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 15 พฤษภาคม 2539 โดยการร่วมทุนระหว่างบริษัท ไดโด โคเงียว จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น)และ บริษัท สิทธิผล 1919 จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 325 ล้านบาท ดำเนินธุรกิจผลิตโซ่รถมอเตอร์ไซค์ และโซ่ภายในเครื่องยนต์ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ภายใต้เครื่องหมายการค้า “D.I.D” โดยมีโรงงานผลิตตั้งอยู่ที่เขตประกอบการอุตสาหกรรมสยามอีสเทิร์นอินดัสเตรียลพาร์ค จังหวัดระยอง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ที่บริษัท ไดโด สิทธิผล จำกัด ได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการพัฒนาศักยภาพการผลิตและการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ดีให้กับลูกค้าทำให้โซ่ “D.I.D” เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งยังได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ IS09001:2015 ซึ่งเกี่ยวกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และ ISO14001:2015 ซึ่งเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
โดยการร่วมทุนระหว่าง
นโยบายบริษัท
นโยบายคุณภาพ
ความพอใจของลูกค้ามาเป็นอันดับหนึ่ง
การเสนอสินค้าที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของลูกค้า, การรับประกันคุณภาพ ถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญในการทำธุรกิจ ที่ต้องพยายามรักษาความพอใจ, ความเชื่อถือของลูกค้า, การรักษาส่วนครองตลาดและรักษาผลกำไรให้ยั่งยืนนาน
ทุกคนมีส่วนรับผิดชอบในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสินค้าอย่างต่อเนื่อง
พนักงานทุกคนในทุก ๆ ระดับ ล้วนมีส่วนร่วมในการรับประกันคุณภาพตามความต้องการของลูกค้า และพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง
หลักของการควบคุมคุณภาพของสินค้าคือ ยึดหลักความเป็นจริง
ดำรงไว้ซึ่งหลัก 3 จริง คือสถานที่ปฏิบัติงานจริง, ของจริง, สถานการณ์จริง การควบคุมคุณภาพพื้นฐานหลัก ๆ นี้ ทำให้สามารถป้องกันปัญหาก่อนที่จะเกิดขึ้นได้
นโยบายสิ่งแวดล้อม
แนวคิด
บริษัท ไดโด สิทธิผล จำกัด ตระหนักดีว่า การรักษาสิ่งแวดล้อมโลก เป็นสิ่งสำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งซึ่งมีความเกี่ยวพันกับมนุษยชาติ ตลอดจนมีความคิดพื้นฐานที่ว่า “รักษาธรรมชาติ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และจัดกิจกรรมเพื่อปรับปรุงพัฒนาองค์กรให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดี”
บริษัทฯ ผลิตโซ่ขับเครื่องยนต์ และโซ่รถจักรยานยนต์เป็นหลัก มีที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยองซื่งมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และมีการจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้นโยบายดังต่อไปนี้นโยบายสิ่งแวดล้อม
- บริษัทฯ คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรม สินค้า และบริการของบริษัทฯ กับปัจจัยต่างๆ ทางสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ ตลอดจนสนับสนุนให้มีการป้องกันปัญหามลภาวะไปพร้อมๆ กับการวางแผนเพื่อการปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง
- จัดทำมาตรฐานขององค์กรเพื่อให้มีการปฏิบัติตามข้อตกลง, ระเบียบข้อบังคับ, กฎหมายสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม สินค้า และบริการของบริษัทฯ
- มีการจัดการองค์ประกอบต่างๆ ทางสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวกับกิจกรรม สินค้า และบริการของบริษัทฯ ภายใต้หัวใจสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อม ตามหัวข้อต่อไปนี้
- ) ลดจำนวนสิ่งสกปรกต่าง ๆ และน้ำมันเหลือทิ้ง อันเป็นของเสียที่เกิดจากโรงงาน
- ) ควบคุมและลดจำนวนของที่ใช้ในกระบวนการผลิต เช่น น้ำมันหล่อลื่น สารทำความสะอาด Sub-Material เป็นต้น
- ) ประหยัดการใช้พลังงานส่วนใหญ่ด้วยการลดจำนวนการใช้พลังงานไฟฟ้า
- ) ควบคุมดูแลรักษาคุณภาพน้ำที่ระบายออกจากโรงงาน รวมไปถึงการปล่อยควันดำ
- ) จัดระเบียบการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินและอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น
- ) ปรับปรุงพัฒนาและดำรงรักษาพื้นที่สีเขียว
- ตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนให้พนักงานทุกคนและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อให้สามารถบรรลุผลสำเร็จตามนโยบายที่ตั้งเอาไว้

ISO 9001:2015
มาตรฐานของระบบบริหารคุณภาพ (Quality Management System) ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เป็นระบบที่ใช้สำหรับบริหารกระบวนการให้ได้สินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ
ISO14001:2015
มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environment Management System) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้องค์กรมีความตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นในการป้องกันมลพิษและรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
IATF 16949:2016
มาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพในอุตสาหกรรมยานยนต์เพียงหนึ่งเดียวที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก เผยแพร่โดย (International Automotive Task Force) ในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ.2016 สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์

JIS
(Japanese Industrial Standard) มาตรฐานอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นที่จัดทำขึ้นมาเพื่อควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานการผลิตภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นส่วนประกอบของวัตถุดิบ คุณสมบัติต่างๆ ของวัสดุ รวมไปถึงกระบวนการผลิต
Green Industry Level 4
วัฒนธรรมสีเขียว (Green Culture) ทุกคนในองค์กรให้ความร่วมมือร่วมใจดำเนินงานอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในทุกด้านของการประกอบกิจการ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร